6. Goddesses
Stone sculptures of goddesses are located around the octagonal chedi in front of the right Ordination Hall on the right side. This octagonal chedi has a total of eight sides, each one containing a sculpture. The octagonal chedi combines Thai and Chinese architectural styles. It was built with marble and granite, while the upper parts are segments that reduce in size as they taper upward
7. Giant SoldierLocated in front of the stupa, this sculpture of a soldier holds a weapon. He is depicted as a stout, muscular man. His face is adorned with fangs and has an aggressive expression aimed at intimidation. This stone sculpture serves as the gatekeeper due to the belief that he guards against all nefarious danger. The construction of sculptures or carvings at the entrance of a religious place is practiced in many countries. For example, Thailand uses Phaya Nak (serpents), Cambodia uses lions and Egypt uses sphinxes, etc.
8. Crocodiles
The two stone sculptures of crocodiles are located in front of the Chinese pavilions at the riverside. They are believed to have been sculpted after the stupa was completed. As the legend goes, a foundation of hundreds or thousands of teak logs were laid in a horizontal grid when the stupa was constructed. Under the grounds of the stupa is a drainage system that drains water out through tunnels into the Chao Phraya River. Crocodiles used to live in this drainage path. The sculptor may have sculpted these two crocodiles as “guardians” at the docks of Wat Arun.
6. เทพธิดา
ศิลาสลักรูปเทพธิดา ตั้งอยู่บริเวณเจดีย์แปดเหลี่ยมด้านหน้าอุโบสถฝั่งขวา เจดีย์แปดเหลี่ยมนี้จะมีทั้งหมดแปดด้าน ในแต่ละด้านจะมีรูปศิลาประดับอยู่ทั้งหมด เจดีย์แปดเหลี่ยมนี้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมไทยและจีนสร้างขึ้นด้วยหินอ่อนผสมหินแกรนิต ส่วนบนมียอดเป็นปล้องลดขนาดขึ้นไปตามลำดับ
7. ทหารยักษ์ศิลาสลักรูปทหารถืออาวุธ ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าด้านหน้าของพระปรางค์ ลักษณะเป็นชายกำยำ ร่างกายหนา ใบหน้าที่ประดับด้วยเขี้ยวและท่าทีที่ดุดันแสดงออกได้ถึงความน่าเกรงขาม รูปศิลาสลักชิ้นนี้เป็นดั่งทวารบาลผู้รักษาประตูในความเชื่อเรื่องการเฝ้ารักษาป้องกันภัยอันตรายจากสิ่งไม่ดีทั้งปวง การสร้างรูปปั้นหรือรูปสลักบริเวณทางเข้าออกของศาสนสถาน เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เช่นประเทศไทยใช้พญานาค ประเทศเขมรใช้ตัวสิงห์ ศิลปะอียิปต์ใช้ตัวสฟิงค์ เหล่านี้เป็นต้น
8. จระเข้
ประติมากรรมหิน จระเข้ 2 ตัว ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศาลาเก๋งจีนท่าน้ำ คาดว่าสร้างขึ้นหลังจากพระปรางค์สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า การสร้างพระปรางค์นั้นจะต้องขุดวางรากฐาน โดยที่ใช้ต้นไม้สักที่เป็นท่อนซุงเป็นร้อยเป็นพันปูเรียงไว้ตามแนวนอนขัดกันเป็นตาราง พื้นลานพระปรางค์มีทางระบายน้ำจากด้านใต้ส่งต่อมาทางอุโมงค์และออกมาสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยก่อนนั้นมีจระเข้อาศัยอยู่ในเส้นทางระบายน้ำนี้ ซึ่งอาจจะตั้งสมมุติฐานของการสร้างประติมากรรมรูปจระเข้ 2 ตัวได้ว่า ผู้สร้างต้องการให้จระเข้เป็นเสมือนผู้เฝ้ารักษาบริเวณท่าน้ำวัดอรุณฯก็เป็นได้